การออกแบบห้องรับประทานอาหาร

การจัดแสงสว่าง
การใช้โคมไฟดวงใหญ่แขวนไว้เหนือโต๊ะกลางห้อง นับเป็นวิธีที่ใช้กันเป็นส่วนมาก เพราะถึงแม้ ไม่ได้เปิดไฟ ดวงโคมเองก็เป็นเครื่องประดับที่ดีได้ ปัญหาของการจัดไฟ แบบนี้จึงอยู่ที่ว่า ความสูงเท่าไร จึงจะพอเหมาะ การปรับความสูงจึงทำได้อย่างง่าย ๆ โดยการจัดให้คน 2 คน นั่งหันหน้าเข้าหากัน ที่โต๊ะกลาง จากนั้นก็จัดความสูง โดยความสูงที่ถูกต้องก็ คือต้องไม่เห็นเงา ของโคมไฟฟ้า ที่หน้าของคนใด คนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะต้อง ไม่สามารถมองเห็นหลอดไฟ โดยตรงที่ระดับสายตา บางครั้งก็สามารถ แก้ปัญหา เรื่องแสงเข้าตา โดยการเลือกใช้หลอด แบบที่มีโลหะเคลือบที่ช่วงล่างครึ่งหลอด
การเลือกใช้แสงที่ต่างกัน ในห้องเดียวกัน ก็ให้ความรู้สึก หรือบรรยากาศ ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เวลากลางวัน หรือกลางคืน รวมไปถึงการจัดแสง เพื่อเน้นจุด ที่ต้องการให้เด่น เช่น จัดให้แสงตกที่ผนัง เพื่อที่จะให้ ภาพแขวนดูเด่นขึ้น ถ้าแสงจัด ลงที่โต๊ะกลาง ก็เป็นการเน้นที่จานอาหาร หรืออุปกรณ์ ที่ใช้บนโต๊ะ รับประทานอาหาร
นอกจากนี้การเลือกใช้โต๊ะ และเก้าอี้ ในห้อง รับประทานอาหาร จะต้องคำนึงถึง จำนวนผู้ที่จะมา ร่วมรับประทานอาหาร ที่มากที่สุดที่คิดว่าเป็นไปได้ จากนั้นก็จะมาดู ที่รูปร่างของโต๊ะ ซึ่งอาจจะเป็นโต๊ะกลม รูปไข่ จัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า การพิจารณา จากแปลนห้อง ก็พอจะบอกได้ว่า ควรจะใช้โต๊ะแบบใด
ขณะนั่งรับประทานอาหารต้องสามารถปล่อยตัวห้อยขาได้ตามสบายโดยไม่มีขาโต๊ะมาเกะกะ เก้าอี้ต้องรับน้ำหนักตัวได้ดี เบาะต้องไม่นุ่ม จนเกินไป และมีพนักที่พิงได้สบาย เมื่อจะลุกจากที่นั่ง หรือเดินเข้าออกจากห้อง ต้องไม่รบกวนผู้อื่นที่นั่งอยู่รอบโต๊ะโดยรอบ
การจัดเลี้ยงอย่างเป็นทางการ
ห้องรับประทานอาหาร 3ลักษณะการจัดเลี้ยงแบบนี้ต้องการความเป็นระเบียบ ค่อนข้างมาก ดังนั้น ห้องที่จะใช้ จึงต้องเป็น ห้องรับประทานอาหาร โดยเฉพาะ เพราะขณะนั่ง รับประทานอาหาร แขกของเราไม่ควรจะมองเห็นสิ่งอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการจัดเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นจักรเย็บผ้า เตียงพับ หรือแม้แต่การบ้าน ที่วางบนโต๊ะ ของเด็ก ๆ ฯลฯ ระดับของพื้นห้อง ไม่ควรจะอยู่ ู่ต่ำกว่า ระดับพื้นดิน เพราะอากาศ ต้องถ่ายเท ได้สะดวก การจัดห้องนี้ สามารถทำได้ แบบเฉพาะตัว คือไม่ต้อง กลมกลืน กับห้องอื่น ๆ ก็ได้ เพราะเวลาที่ใช้งาน จะไม่ค่อยเกี่ยว กับห้องอื่น ๆ มากนัก

การจัดห้องรับประทานแบบนี้จะทำให้สมบูรณ์แบบได้ไม่ยากนัก เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง แทบจะตายตัว ทั้งหมด นับตั้งแต่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ฯลฯ การจัดวางสิ่งเหล่านี้ จะมีที่อยู่ ของตัวเอง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ก็คือรสนิยมของเรา ในการจัดสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
การจัดห้องแบบนี้เรื่องของสีจะเข้ามามีบทบาท ค่อนข้างมาก เช่น ถ้าใช้สีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลปนแดงสีอิฐ จะทำให้ห้องดูอบอุ่นขึ้น ท่ามกลางแสงเทียน แต่สีนี้กลับดูกระด้าง ในเวลากลางวัน แต่ถ้าแต่งห้อง ด้วยสีชมพูหรือสีครีม เวลากลางคืน จะดูอ่อนหวาน ในเวลากลางวัน ก็จะสามารถใช้ห้องได้เช่นเดียวกัน การตกแต่งด้วยสิ่งของ หรือ เฟอร์นิเจอร์ ที่ทำขึ้น ตามสมัยนิยม ไม่ควรนำมาใช้กับการนี้ เพราะว่าจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัย ในเวลาต่อมา การตกแต่งแบบเรียบง่ายและคลาสสิค จะเหมาะกว่า
ถ้าห้องมีขนาดเล็ก เกินกว่าจะขยายออกไปได้อีก ก็ควรที่จะทำให้ ดูกว้างขึ้น ด้วยการตกแต่ง ให้เพดานมีสีสดใส เพื่อเบี่ยงเบน ความสนใจ ไปจากผนัง ถ้าห้องนั้น มีผนัง เดิมที่มีสีสันค่อนข้างจัด หรือฉูดฉาดมากเกินไป ก็ควรลดสีสันลง ด้วยการใช้ผ้าม่านแบบโปร่งบาง ก็จะช่วยให้ห้องดูกว้างขึ้นได้บ้าง
การจัดแสง
การจัดเลี้ยงแบบนี้ค่อนข้างเน้นเรื่องแสงเทียน แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่อง ที่จำกัดเสมอไป ที่จะต้องแสงเทียนจริง ๆ ปัจจุบันสามารถ ทดแทนได้ ด้วยโคมระย้า หรือไฟฟ้า ที่แขวนเหนือโต๊ะ โดยมีอุปกรณ์ที่ช่วยหรี่ไฟ ก็จะช่วยให้ สามารถลดปัญหา เรื่องแสงเทียน ที่ลุกโชติช่วง บนโต๊ะได้ โดยไม่เสียบรรยากาศได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น